ประเพณีรับน้องใหม่ของ มก.
เริ่มต้นขึ้นในปี 2493 เป็นปีแรกโดยน้องใหม่จะเดินทางไปขึ้นรถจากสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพงแล้วมาลงที่บางเขนเพื่อเดินเข้ามามหาวิทยาลัยโดยพร้อมเพรียงกัน หลังจากนั้นได้มีระบบ SOTUS เกิดขึ้น
SOTUS นั้นมีความหมายย่อมาจาก
S = Seniority , O = Order , T = Tradition , U = Unitiy , S = Spirit
ในยุคแรกๆ จะนับวันที่ 5 มิ.ย. เป็นวันต้อนรับน้องใหม่ส่วนสาเหตุที่เลือกวันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันรับน้องใหม่นั้นเพราะว่าเป็นวันที่ รัชกาลที่ 8 ทรงเสด็จมาทรงหว่านข้าวและเยี่ยมกิจการของมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก และเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์เสด็จมายังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยจึงถือเอาวันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันรับน้องและใช้มาจนถึงปี 2502 จึงได้ปรับเป็นวันเสาร์- อาทิตย์ เพื่อสะดวกต่อนิสิต
กิจกรรมที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังก็คือ กิจกรรมซ้อมร้องเพลงเชียร์ โดยมุ่งเน้นให้น้องๆมีระเบียบ และสมัครสามัคคีในความเป็นรุ่นพี่ – รุ่นน้อง นอกจากนี้ยังมีประเพณีอีกอย่างที่สำคัญในกิจกรรมรับน้องของนิสิตคณะเกษตรก็คือ ประเพณีชิงธง ซึ่งจะจัดในวันสุดท้ายของการรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัย
กิจกรรมสุดท้ายของการเป็นนิสิตปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็คือ พิธีการถอดหมวก ( ของนิสิตชาย) นิสิตหญิงก็คือ พิธีปลดโบว์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงว่าถึงวาระที่นิสิตจะพ้นสภาพความเป็นน้องใหม่ โดยเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 2497 เพื่อเป็นการสร้างสัญลักษณ์ให้กับนิสิตใหม่โดยผู้หญิงจะติดโบว์สีเขียว ผู้ชายจะใส่หมวกเขียว
ในปัจจุบันประเพณีการรับน้องใหม่ได้มีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิมมากมายเพื่อให้ทันยุคทันสมัยกับในปัจจุบันส่วนประเพณี กิจกรรมที่ยังคงมีอยู่ก็คือ การสอนน้องร้องเพลงซึ่งเรียกว่า วันสอนน้องร้องเพลง ( โดย อกม.)
ใส่ความเห็น